สุขภาพ ผู้สูงอายุ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุในสังคมเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน เราอาจเห็นคนสูงอายุมากขึ้นทั้งในชุมชน สถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ ขนส่งมวลชน หรือแม้ในกระทั่งครอบครัวของเราเอง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา และคาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแบบเต็มที่ภายใน 20 ปีข้างหน้านี้องค์กรสหประชาชาติได้ให้คำจำกัดความของ “ผู้สูงอายุ” ว่า ผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดนิยามของผู้สูงอายุว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ดังนั้น นิยามของคำว่าผู้สูงอายุจึงหมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปนั่นเอง
สุขภาพ ผู้สูงอายุ
สุขภาพ ผู้สูงอายุ เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา ผู้สูงวัยมักเริ่มประสบปัญหาทั้งทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต อันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของร่างกายตามอายุ ทั้งการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้คล่องแคล่วเหมือนเดิม ประสาทสัมผัสที่เริ่มเสื่อมสมรรถภาพ ตาฝ้าฟาง หูตึง จมูกไม่ดี รวมถึงโรคประจำตัวและโรคเรื้อรังต่าง ๆ เมื่อบุคคลวัยผู้สูงอายุประสบปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเหล่านี้ก็อาจนำไปสู่ปัญหาด้านจิตใจที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลได้ผู้สูงอายุและผู้สูงวัยจึงเป็นกลุ่มคนที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษตามแนวทางวิธีดูแลผู้สูงอายุที่ถูกต้องเพื่อชะลอความเสื่อมถอยของสมรรถภาพร่างกาย รวมถึงการให้ความอบอุ่นและปลอดภัยเพื่อให้กลุ่มคนวัยผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งบุคคลในครอบครัวทุกคนล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ การทราบวิธีดูแลผู้สูงอายุที่ถูกวิธีจะช่วยให้ผู้สูงวัยมีอายุที่ยืนยาวขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นำไปสู่ความสุขของผู้สูงวัยและทุกคนในครอบครัว
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงด้านไหนบ้าง
เมื่อผู้สูงวัยก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะพบกับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสมอง รวมถึงด้านสังคม การที่บุตรหลานหรือผู้ใกล้ชิดเข้าใจความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะช่วยให้สามารถดูแลผู้สุงอายุได้อย่างเข้าอกเข้าใจและถูกต้อง ช่วยให้คนสูงอายุรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดและส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุมากที่สุด นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายนอกอย่างผมบาง ผมหงอก เชื่องช้าลง กล้ามเนื้อลีบเล็กลง ผิวหนังเหี่ยวย่น การทรงตัวไม่ดีแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงของระบบภายในร่างกาย เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อที่เสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้คนสูงอายุมีปัญหาสุขภาพทั้งโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น รู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด ท้องอืดง่าย ไปจนถึงภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น อีกทั้งยังมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุ
นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายแล้ว วัยผู้สูงอายุยังต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยในวัยผู้สูงอายุ ได้แก่ อารมณ์ไม่คงที่ อ่อนไหวง่าย วิตกกังวล บางรายอาจพบว่าเริ่มเอาแต่ใจมากขึ้น โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด จู้จี้ ขี้บ่น ซึ่งเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่ไม่สมดุล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและสภาพแวดล้อม ตลอดจนการคิดเรื่องเดิม ๆ ซ้ำซาก กังวลว่าลูกหลานจะทอดทิ้ง หากไม่เอาใจใส่หรือดูแลคนแก่ไม่ดีก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาด้านจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวลได้
การเปลี่ยนแปลงทางสมองของผู้สูงอายุ
เมื่อเข้าสู่วัยชรา ระบบประสาทและสมองของคนสูงวัยจะเริ่มถดถอย จากที่เคยคล่องแคล่วก็จะเริ่มทรงตัวได้ไม่ดีเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ เสื่อมลง รวมถึงหลงลืมง่าย ความจำไม่ดี จำรายละเอียดไม่ได้ ความสามารถการเรียนรู้ลดลง ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ลดลง ซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์ประสาท โดยการเปลี่ยนแปลงทางด้านสมองอาจนำไปสู่โรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของสมอง อาทิ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดในสมองได้อีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของผู้สูงอายุ
แม้ผู้สูงอายุจะมีเวลามากขึ้น แต่คนสูงอายุส่วนใหญ่เป็นวัยเกษียณที่มักอยู่บ้านเฉย ๆ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าได้ง่าย นอกจากนี้ ภาระหน้าที่และบทบาททางสังคมที่ลดน้อยลงยังทำให้ผู้สูงวัยรู้สึกไม่ได้รับการยกย่อง ไม่มีคนเคารพเหมือนเมื่อก่อน จึงเริ่มเก็บตัวออกห่างจากสังคมที่เคยมี ประกอบกับความหมกมุ่นเกี่ยวกับเรื่องของตนเองทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็จะทำให้ผู้สูงวัยมีข้อจำกัดในการเข้าสังคมมากขึ้นซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย
ปัญหาที่พบบ่อยในวัยผู้สูงอายุ
ร่างกายของมนุษย์จะพัฒนาสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 20-25 ปี หลังจากนั้นประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายจะเริ่มถดถอยลง ซึ่งจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยชรา ทำให้บุคคลในกลุ่มคนสูงวัยนี้เผชิญกับปัญหาในหลายด้าน
สุขภาพร่างกายและโรคประจำตัว
วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางร่างกายหลายด้าน นอกจากสมรรถภาพของร่างกายจะเสื่อมถอยลงแล้ว ในบางรายยังอาจมีโรคประจำตัวที่ต้องการการดูแลรักษา โดยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคกระดูกพรุน โรคข้อเสื่อม โรคหัวใจขาดเลือด โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ท้องอืด ท้องผูก โรคจอประสาทตา เป็นต้น จึงควรได้รับการดูแลตามวิธีดูแลผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม และควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อคัดกรองโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ สุขภาพ ผู้สูงอายุ