สุขภาพดี โลโก้

ศูนย์ สุขภาพ จุฬา

ศูนย์ สุขภาพ จุฬา

หัวข้อแนะนำ

ศูนย์ สุขภาพ จุฬา  เป็นศูนย์ให้บริการดูแลสุขภาพครบทุกมิติที่พร้อมดูแลสุขภาพของคุณตั้งแต่แรกเริ่ม ตลอดจนมีแพทย์เฉพาะทางพร้อมให้คำปรึกษาการดูแลแบบองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การคัดกรองโรคตามช่วงอายุ การดูแลรักษาโรคเรื้อรังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ฯลฯทางศูนย์มีบริการแนะนำวางแผนการรักษาโรคและการสร้างเสริมส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น ครอบคลุมและครบวงจรเรื่องการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดีได้ในทุกๆวันของชีวิตเปิด บริการตรวจสุขภาพแบบ One Stop Service ทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น. ณ ชั้น 9 โรงพยาบาล พร้อมห้องตรวจที่แบ่งเป็นสัดส่วนตามลักษณะการใช้บริการอย่างลงตัว เครื่องมือแพทย์ที่สะอาดได้มาตรฐานระดับสากล ท่ามกลางบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ตกแต่งทันสมัย เพื่อบริการที่ดีที่สุดสำหรับคุณซึ่ง ศูนย์สุขภาพดี (Wellness center) มุ่งมั่นพัฒนาระบบการให้บริการด้านการตรวจสุขภาพ ตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตามปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ผลการตรวจที่แม่นยำภายใต้การดูแลของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Physician) โดยมุ่งหวังให้ผู้รับบริการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ภายใต้คุณภาพ และการบริการที่ดี

ปัญหาสุขภาพจิต ที่ชาวออฟฟิศควรระวัง

1. เครียดสะสม ศูนย์ สุขภาพ จุฬา
การใช้ชีวิตบนความตึงเครียด ความกดดัน และมีความคาดหวังสูง 5-6 วันต่อสัปดาห์ มักเป็นสาเหตุของอาการเครียดสะสม หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว เรียกได้ว่ารู้ตัวอีกทีก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างไปแล้ว สังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทั้งด้านอารมณ์และการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก นิ่งเงียบ เบื่อหน่ายชีวิต เศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นภาวะอันตรายที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางกายตามมาได้ ทั้งหัวใจ ความดันโลหิต ไมเกรน เครียดลงกระเพาะ และอื่นๆ ได้

จัดการความเครียด (ก่อน) สะสม ด้วยการวิเคราะห์ถึงต้นตอของปัญหาและแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุนั้นๆ จัดแจงสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้ดูสดชื่น ด้วยการปรับเปลี่ยนมุมโต๊ะทำงานใหม่ลดความจำเจ และบำบัดตัวเองด้วยการออกไปพบปะผู้คน ท่องเที่ยว ชอปปิง หรือวิธีที่สามารถทำได้ง่ายด้วยการออกไปเดินสูดอากาศที่สวนสาธารณะก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้ารู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับความเครียดด้วยตัวเองได้ หรือเครียดมากจนไม่ไหวแนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักบำบัด พูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไขวิธีอื่นๆ แทน หรือรับประทานยาที่ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น

2. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)

อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังมาแรงในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอันมีที่มาจากความเครียดสะสม ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลรุนแรงและคุกคามการดำเนินชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสาเหตุมักเกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน ภาระงานที่หนักซับซ้อนเกินกว่าที่จะรับผิดชอบได้ไหว บั่นทอนจิตใจจนกลายสภาพเป็นความหมดไฟในที่สุด ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ส่งผลให้มุมมองที่มีต่อการทำงานเป็นไปในด้านลบ ขาดความสุข หมดแรงจูงใจไม่อยากลุกไปออฟฟิตในยามเช้า และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง ซึ่งหากปล่อยให้นานวันเข้าอาจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้

3. ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ (Low self esteem)

ปัญหาสุขภาพจิตที่ชาวออฟฟิศหลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญภาวะนี้อยู่ นั่นคือ ความรู้สึกเศร้าใจ ไม่ชอบสิ่งที่ตัวเองได้ตัดสินใจทำลงไปแล้วมากเสียจนรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า สูญเสียความรู้สึกให้เกียรติตัวเอง แบกรับปัญหาและกล่าวโทษว่ามีต้นเหตุมาจากตัวเองไม่ดีพอ ตีความเหตุการณ์ต่างๆ ในแง่ลบเสมอ เป็นภาวะเสี่ยงมากที่จะก้าวข้ามสู่โรคซึมเศร้า สัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้กำลังเผชิญวิกฤติ Low self esteem คือความอ่อนไหวไปกับเรื่องเล็กน้อยได้ง่าย วิตกกังวล ไปจนถึงกลัวการเข้าสังคมเพราะกลัวที่ต้องถูกปฏิเสธ ขณะเดียวกันก็ไม่กล้าปฏิเสธคำขอของผู้อื่นเนื่องจากกลัวไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเองที่สะสมมาเป็นเวลานาน

สร้าง self esteem ด้วยตนเองได้ก่อนที่ความเชื่อมั่นทางใจจะหายไป โดยเริ่มจากการให้อภัยตนเองในความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ขอให้บอกตัวเองว่ามันได้ผ่านพ้นไปแล้ว พูดขอบคุณและให้คำชมกับตัวเองในทุกความสำเร็จแม้เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย จะดียิ่งขึ้นหากได้แรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง ที่สามารถมอบพลังบวกและความสบายใจให้ได้ ยอมรับว่าความสำเร็จของแต่ละคนมีความหมายไม่เท่ากัน หยุดเอาตัวเองไปเปรียบกับผู้อื่น ความสุขก็จะเกิดขึ้นได้ในหัวใจเราเอง

4. โรคซึมเศร้า (Depression)

เป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับโรคทางกายชนิดอื่นๆ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้มีความหมายว่าเป็นคนอ่อนแอ หรือไร้ความสามารถ แต่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ที่มีผลกระทบโดยรวมต่ออารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม ไปจนถึงสุขภาพกาย ซึ่งจากสถิติพบว่าคนไทยอายุมากกว่า 15 ปี มีปัญหาสุขภาพจิต ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่า 1.5 ล้านคน เพราะนอกจากปัจจัยเสี่ยงที่มาพร้อมความเครียดจากงานที่กองล้นโต๊ะ ความกดดันจากการทำงานที่สะสางได้ยาก สภาพสังคม พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ล้วนมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าด้วย เราสามารถสำรวจตัวเองและคนรอบข้างว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ ด้วยอาการเศร้าซึม หม่นหมอง หดหู่ เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยทำให้มีความสุข ซึ่งอาจรุนแรงไปจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเอง หรือทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า เพื่อประเมินสุขภาพจิตของตัวเองเบื้องต้น  ศูนย์ สุขภาพ จุฬา